เรื่องราวทั่วโลก ในโลกของเรานั้นมีสุนัขหลากหลายสายพันธุ์ที่แตกต่างกันไป สุนัขบางสายพันธุ์ก็ได้ถูกพัฒนาเพื่อนำมาเลี้ยงในบ้าน แต่คุณรู้หรือไม่ยังมีสุนัขที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ซึ่งพวกมันมีสัญชาตญาณที่เป็นสุนัขนักล่า และก้าวร้าว คงเคยได้ยินข่าวกันบ่อย ๆ ว่ามีสุนัขทำร้ายมนุษย์ถึงตาย พวกมันจึงถูกแบนสำหรับบางประเทศ มีกฎหมายห้ามนำเข้าประเทศ และข้อห้ามอีกมากมาย หากคุณคิดจะเลี้ยงสุนัขทั้ง 12 สายพันธุ์นี้ไปรับชมกันเลย


10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

12 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

Advertisement

10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

1. Perro de presa canario

เป็นสุนัขที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งถูกนำมาเป็นสุนัขนักล่า มันสามารถต่อกรกับไฮยีน่าและสิงโตได้ ต่อมาก็ได้ถูกนำเป็นสุนัขเฝ้ายาม ต้อนแกะและวัว ด้วยความดุร้ายของเจ้า เปโร จึงทำให้ประเทศออสเตรียและนิวซีแลนด์ สั่งห้ามไม่ให้คนในประเทศเลี้ยง ส่วนสหรัฐอเมริกาในหลาย ๆ รัฐฯ ก็สั่งห้ามเลี้ยงเช่นกัน


10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

2. Fila brasileiro

เป็นสุนัขนักล่า อารมณ์ใจร้อน ขี้โมโห และมีกำลังมาก เล่ากันว่ามันสามารถต่อกรกับเสือได้เลยละ เนื่องจากความดุร้ายของมันจึงทำให้ สหราชอาณาจักร มีกฎหมายห้ามเลี้ยงอย่างเด็ดขาด ส่วนประเทศ เดนมารค์ นอร์เวย์ และ หลายรัฐในสหรัฐ มีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการนำเข้าที่เข้มงวด


10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

3. Mollosso presa mayo

สุนัขลูกผสมทั้ง 3 สายพันธุ์ American staffordshire bull terrier , English bulldog terrier และ Presa canario เจ้า Mollosso presa mayo แค่หน้าตาก็ดูน่ากลัวแล้ว แถมยังมีพละกำลังที่แข็งแรง ตัวใหญ่ มีความฉลาม จงรักภักดีต่อเจ้านายของมัน ความดุร้ายไม่แพ้กัน เพราะได้ผสมระหว่าง 3 สายพันธุ์ที่ดุๆทั้งนั้น มันจึงถูกสั้งห้ามนำเข้าหลาย ๆ ประเทศ


10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

4. Dobermann

แค่ได้ยินชื่อคุณก็คิดออกแล้ว ใช่แล้วละมันคือสุนัขเฝ้ายาม สุนัขตำรวจที่ถูกฝึกมาเป็นอย่างดี คุณมักจะเห็นในภาพยนต์บ่อย ๆ แต่ในความจริงแล้วเจ้า Dobermann เป็นสุนัขไม่ดุร้าย ไม่ทำร้ายคน สามารถฝึกได้ เชื่อฟังคำสั่ง เข้ากับผู้คนได้ดี ถึงอย่างนั้นแต่ก็ยังมีประเทศที่ไม่เห็นด้วย และถูกแบนห้ามนำเข้า

Advertisement

10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

5. American bandogge

แบนด็อก สุนัขกล้ามโตสายพันธุ์นี้ มีกรามที่ทรงพลังมาก เป็นสุนัขที่ดื้อ และชอบวิ่งออกกำลัง แต่หากคุณเลี้ยงแล้วไม่หมั่นพาเจ้าแบนด็อกออกไปวิ่งเพื่อผ่อนคลาย มันเคลียดและเริ่มทำลายข้าวของ และอาจทำร้ายผู้คนได้โดยวิ่งพุ่งเข้าไปกัดด้วยแรงมหาศาล หากเลี้ยงดูไม่ดีมันคือตัวอันตรายเลยละ ดังนั้นในบางประเทศจึงสั่งห้ามนำเข้าเด็ดขาด เช่น สวิตเซอร์แลนด์ และ สหรัฐอเมริกา


10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

6. Staffordshire bull terrier

เป็นสุนัขล่าสัตว์ และต่อสู้ นิสัยก้าวร้าว ดุร้าย ถึงแม้ตัวจะเล็กแต่มีความเร็วคล่องตัวเป็นอย่างมาก หากไม่ได้รับการฝึกที่ดีมันเป็นสุนัขที่ไม่ควรนำมาเลี้ยง หรือเข้าใกล้เลยละ จึงทำให้ประเทศ เยอรมัน และ สวิตเซอร์แลนด์ สั่งห้ามเลี้ยงเด็ดขาด


10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

7. Tosa ken

สุนัขญี่ปุ่นตัวโตลูกผสมนี้ เป็นสุนัขที่น่ากลัวมากมันมีความสูง 62 - 82 เซนติเมตร มีพละกำลังมหาศาล มักจะถูกนำไปเป็นสุนัขล่าสัตว์ตัวใหญ่ เช่น หมูป่า กวาง และเสือพูม่า เนื่อจากมีบางประเทศที่เห็นถึงความดุร้ายของมัน จึงทำให้ประเทศอังกฤษแบน สั่งห้ามเลี้ยงเด็ดขาด


10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

8. Boerboel

สุนัขกล้ามโต ร่างใหญ่ตัวนี้ ถูกนำมาเลี้ยงให้เป็นสุนัขเฝ้ายาม ต้อนแกะ ต้อนวัว ในฟาร์ม แต่เนื่องจากมันมีขนาดตัวที่ใหญ่มาก และมีความดุร้าย ทำให้คนเลี้ยงควบคุมลำบาก จึงทำให้ประเทศเดนมารค์สั่งห้ามเลี้ยง ส่วนประเทศโรมาเนีย ผู้เลี้ยงจะต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไปและสามารถเลี้ยงได้จริง ถึงจะได้รับอนุญาติ แต่ในประเทศสิงคโปร์คุณต้องทำประกันชีวิตไว้ 3 ล้านบาท และฝังไมโครชิปไว้ที่เจ้าหมาด้วย

Advertisement

10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

9. Bully kutta

เป็นสุนัขที่มีความสูงถึง 86 เซนติเมตร และมีขนาดตัวที่ใหญ่มาก ซึ่งมีนิสัยที่ก้าวร้าว บางครั้งก็ถูกนำมาเป็นสุนัขต่อสู้ ซึ่งเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ประเทศอินเดีย และปากีสถาน จึงสั่งห้ามนำเข้ามาเลี้ยง


10 อันดับ สุนัขสายพันธุ์ดุ สุนัขผิดกฎหมายที่ถูกแบน

10. Neapolitan mastiff

สุนัขหน้าย่นใจดีตัวนี้ ใครจะรู้ละว่า สิงคโปร์ และ สหรัฐฯ เนื่องจากมันมีขนาดที่ใหญ่เกินไป และมีนิสัยดุร้าย ไม่ชอบฟังคำสั่งเจ้าของ แต่หากคุณเลี้ยงด้วยความรักและเอาใจใส่ มันจะกลายเป็นสุนัขที่น่ารัก ใจดีไปเลยละ


Post a Comment